อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง
-
กรณีที่ 1
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเอง และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของตนเองเป็นหลัก แต่ต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อสำรองไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวขัดข้องหรือหยุดเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาตามแผนที่ ได้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว -
กรณีที่ 2
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน(Cogeneration) และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองเป็นหลักแต่ต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อสำรองไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าว ขัดข้องหรือหยุดเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาตามแผนงานที่ได้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า(บาท/กิโลวัตต์) | ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | ค่าบริการ (บาท/เดือน) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
อัตราไฟฟ้าสำรอง | อัตราปกติ | |||||
กรณีที่ 1 | กรณีที่ 2 | On Peak | Off Peak | |||
แรงดัน 69 กิโลโวลต์ ขึ้นไป | 52.71 | 26.36 | 74.14 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 58.88 | 29.44 | 132.93 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 66.45 | 33.22 | 210 | 4.3297 | 2.6369 | 312.24 |
On Peak
เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์Off Peak
เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
-
3.1
เดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้าสำรอง
ค่าไฟฟ้าคิดจากความต้องการพลังไฟฟ้าสำรอง ตามสัญญาในอัตราค่าไฟฟ้าสำรองกรณีที่ 1 หรือกรณีที่ 2 แล้วแต่กรณีโดยไม่คิดค่าพลังงานไฟฟ้า
-
3.2
เดือนที่มีการใช้ไฟฟ้าสำรอง
ค่าไฟฟ้าคิดทั้งค่าความต้องการพลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า
ค่าพลังงานไฟฟ้า คิดตามพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จริง
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า คิดจากความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงดังนี้
-
3.2.1
ถ้าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงไม่เกินสัญญา
คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่ใช้จริงในอัตราปกติรวมค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่ต่ำกว่าสัญญาในอัตราไฟฟ้าสำรองกรณีที่ 1 หรือ กรณีที่ 2 แล้วแต่กรณี -
3.2.2
ถ้าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงสูงกว่าสัญญา
คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่ใช้จริงในอัตราปกติรวมกับค่าความต้องการพลังไฟฟ้าส่วนที่สูงกว่าสัญญาในอัตรา 2 เท่าของอัตราปกติ
-
3.3
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด
ค่าไฟฟ้าต่ำสุดจะต้องไม่ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่คำนวณจากความต้องการพลังไฟฟ้าตามสัญญาในอัตราไฟฟ้าสำรองกรณีที่ 1 หรือกรณีที่ 2 แล้วแต่กรณี -
3.4
ความต้องการพลังไฟฟ้า
ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือนคือความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดในช่วงเวลา On Peak ในรอบเดือน เศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวัตต์ -
3.5
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังงานไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาท สำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ตัดทิ้งตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
-
1
อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม -
2
ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วยค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
ไฟล์แนบ
ชื่อไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่สร้าง | |||
---|---|---|---|---|---|
อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง_เริ่มใช้เดือน พ.ย. 61.pdf
ขนาดไฟล์: 125.80 KB |
1,248 | 2 พ.ย. 61 | |||