โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2558
โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
-
1
ค่าไฟฟ้าฐาน -
2
ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
-
1. ค่าไฟฟ้าฐาน
สะท้อนต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า ภายใต้สมมุติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราเงินเฟ้อ ระดับหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าดังนี้
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) | ค่าบริการ (บาท/เดือน) | ค่า PF (บาทต่อกิโลวาร์) | |
---|---|---|---|---|
ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย | P | - | P | - |
ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก | P | - | P | - |
ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง | P | P | P | P |
ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ | P | P | P | P |
ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง | P | P | P | P |
ประเภทที่ 6 องค์กรไม่แสวงหากำไร | P | P (เฉพาะอัตรา TOU) | P | - |
ประเภทที่ 7 สูบน้ำเพื่อการเกษตร | P | P (เฉพาะอัตรา TOU) | P | - |
ประเภทที่ 8 ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว | P | - | P | - |
-
2. ค่า Ft
ค่า Ft หมายถึง ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับที่กำหนดไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน ค่า Ft มีการปรับปรุงทุก ๆ 4 เดือน
-
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นอกจากค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ร้อยละ 7) รวมกับค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ด้วย