MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
นโยบายการต่อต้านการทุจริตและรับสินบน
หน้าหลัก » เกี่ยวกับองค์กร » การกำกับดูแลกิจการที่ดี » นโยบาย » นโยบายการต่อต้านการทุจริตและรับสินบน
นโยบาย

นโยบายการต่อต้านการทุจริตและรับสินบน

นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Policy)

การไฟฟ้านครหลวงมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เป็นไปตามนโยบายภาครัฐ กำกับดูแลฯ

โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศสาตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกระทรวงมหาดไทย และตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 69/2557 เรื่องมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบ โดยการไฟฟ้านครหลวงได้เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่องรวมพลังรัฐวิสาหกิจไทยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่องการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และรัฐวิสาหกิจจำนวน 55 แห่ง เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และการไฟฟ้านครหลวงได้จัดให้มีพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ภายในการไฟฟ้านครหลวง" เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเป็นรูปธรรม มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสตามมาตรฐานในระดับสากล และให้มั่นใจว่าการไฟฟ้านครหลวงมีแนวปฏิบัติ หน้าที่ความรับผิดชอบตามนโยบายการป้องกัน และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น พร้อมทั้งกำหนดนิยามแนวปฏิบัติ หน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) อย่างยั่งยืน

คำนิยามตามนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

การทุจริต (Fraud)

คือ การที่พนักงานหรือผู้บริหารมีเจตนากระทำโดยการฉ้อฉล หลอกลวง ปกปิดข้อมูล หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้องโดยก่อให้เกิดความเสียหายต่อการไฟฟ้านครหลวงทั้งทางตรงและทางอ้อม

การคอร์รัปชั่น (Corruption)

คือ การทุจริตอย่างหนึ่งซึ่งกระทำโดยพนักงานหรือผู้บริหาร ในการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในรูปแบบของการข่มขู่ การติดสินบน การให้ของขวัญรางวัล การจ้างวาน ฯลฯ เพื่อสิทธิพิเศษต่างๆ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด การคอร์รัปชั่นให้รวมถึงการใช้ข้อมูลภายในของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น

แนวทางปฏิบัติ

    • 1

      การไฟฟ้านครหลวงมุ่งมั่น และรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่า การไฟฟ้านครหลวงไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงไม่ละเลย หรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่น

    • 2

      วิธีการปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดี การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน ให้มีการดำเนินการเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน

    • 3

      ห้ามฝ่ายบริหารและพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงปฏิบัติงานหรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่ได้นิยามและกำหนดเป็นแนวปฏิบัติในงานด้านต่างๆ

    • 4

      ผู้ที่กระทำการคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของการไฟฟ้านครหลวง จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินับตามระเบียบที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

    • 5

      การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนในการไฟฟ้านครหลวง ระบบ กระบวนงาน และวิธีปฏิบัติที่มีผลบังคับใช้ จะต้องให้ความร่วมมือ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    • 6

      กำหนดให้มีและดำเนินการพัฒนาช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็น หรือการแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมทั้งมีมาตรการการให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามนโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistle Blowing)

    • 7

      ให้ดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 26000 กับกระบวนงานของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อการแสดงให้ปรากฎกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบทบาทความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

    • 8

      ให้มีการเปิดเผยข่าวสารข้อมูลตามมาตรฐานที่ดีและเปิดให้มีช่องทางการสื่อสารด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

    • 9

      ให้มีการพัฒนาพนักงานในเรื่องความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก ค่านืยม ในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น

    • 10

      การดำเนินการตามนโยบายนี้ให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องจรรยาบรรณ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องของการไฟฟ้านครหลวง

หน้าที่ความรับผิดชอบตามนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

หน้าที่ความรับปิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องไว้ ดังนี้

คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง

กำหนดนโยบาย ควบคุมดูแลกิจการ กำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ระบบบัญชี รายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารงานอย่างโปร่งใส มีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น

คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ในการไฟฟ้านครหลวง

สอบทางความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินและรายงานทางการบริหาร สอบทานการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายในให้เหมาะสมและมีประสิทธิผล การสอบทานและตรวจสอบการปฏิบัติเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นตามแผนการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารงานอย่างโปร่งใส

คณะกรรมการการกำกับดูแลกิจการที่ดี

กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริม เสนอแนะให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารงานอย่างโปร่งใส พิจารณากลั่นกรองและสอบทานแผนกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารงานอย่างโปร่งใส ระบบและกระบวนงานบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น แผนเสริมสร้างความยั่งยืน ตลอดจนติดตามและประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร

คณะอนุกรรมการพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง

กำหนดแนวนโยบาย พิจารณา และกลั่นกรองรายละเอียดยุทธศาสตร์ และแผนบริหารความเสี่ยง หรือวิธีการบริหารความเสี่ยง ด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับแผนการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารงานอย่างโปร่งใส ระบบและกระบวนงานบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น

ฝ่ายบริหารการไฟฟ้านครหลวง

นำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีแลการบริหารงานอย่างโปร่งใสที่ครอบคลุมนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ปรับปรุงระบบและกระบวรงานบริหารจัดการ การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบ การจัดทำและปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ โดยยึดมั่นในการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียม ไม่ยอมรับในการให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การแสดงตนเป็นแบบอย่าง และการสื่อสารถ่ายระดับลงสู่ผู้ปฏิบัติงานดังนี้

  •   เสริมสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ในการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้งองค์กร

  •   สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น

  •   เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอร์รัปชั่น

  •   พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอร์รัปชั่น

  •   มุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารงานอย่างโปร่งใส