MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
หน้าหลัก » เกี่ยวกับองค์กร » การกำกับดูแลกิจการที่ดี » นโยบาย » นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นโยบาย

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 


คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้การไฟฟ้านครหลวง
 มีการบริหารจัดการที่ดี มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

และเติบโตอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 และแนวทางปฏิบัติทั้ง 9 หมวด

ประกอบด้วย บทบาทของภาครัฐ สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความยั่งยืนและนวัตกรรม

การเปิดเผยข้อมูล การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในจริยธรรมและจรรยาบรรณ และการติดตามผลการดำเนินงาน

แนวปฏิบัติ

          1. บทบาทของภาครัฐ

หน่วยงานกำกับดูแลการไฟฟ้านครหลวง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงาน ซึ่งมีการแยกบทบาทหน้าที่ในการเป็นเจ้าของ (Owner) 

กำหนดนโยบาย (Policy Maker) การกำกับดูแล (Regulator) และการดำเนินการ (Operator) เพื่อป้องกันการขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of Interests) ป้องกันการแทรกแซง

การบริหารงานประจำของการไฟฟ้านครหลวง (Day to Day management) รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และการแทรกแซงกลไกตลาด โดยการไฟฟ้านครหลวง

กำหนดให้มีการรายงาน ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน รายงานการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี และรายงานการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ

ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ แก่หน่วยงานกำกับดูแลโดยเปิดเผยผ่านรายงานประจำปี และเว็บไซต์

 

          2. สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น

              การไฟฟ้านครหลวง คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น คือ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีผู้แทนทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการในการกำกับดูแลให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินงานบรรลุตามภารกิจ

วัตถุประสงค์ นโยบายของภาครัฐ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นโยบายการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

นโยบายการป้องกันการเกิดรายการเกี่ยวโยง และนโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง ญาติ หรือบุคคลในครอบครัวในทางมิชอบ และสร้างความเชื่อมั่น

ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

           3. คณะกรรมการ

               คณะกรรมการการไฟฟานครหลวง มีหนาที่ในการกํากับดูแลการดําเนินงานของการไฟฟานครหลวงใหเปนไปตามกฎหมาย ขอบังคับ นโยบาย วัตถุประสงค และเปาหมายขององคกร

คํานึงถึงผลประโยชนสูงสุดของการไฟฟานครหลวงและผูมีสวนไดสวนเสียทุกฝาย โดยมีโครงสร้างที่มีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติการไฟฟานครหลวง พ.ศ. 2501 และที่แกไขเพิ่มเติม

ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แกไขเพิ่มเติม มีคณะกรรมการชุดยอยหรือคณะอนุกรรมการเพื่อชวยพิจารณากลั่นกรองและเสนอความคิดเห็น

แนวทางตาง ๆ ที่เหมาะสม มีขั้นตอนการสรรหากรรมการตามแนวทางการแตงตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และมีการประเมินผลคณะกรรมการ

ทั้งแบบรายคณะรายบุคคล และ/หรือรายไขว โดยประเมินตนเองปละ 2 ครั้ง

 

          4. บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

              การไฟฟ้านครหลวง ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบและไม่ละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ประกอบด้วย พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า

คู่แข่ง หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ส่งมอบ เจ้าหนี้ คู่ความร่วมมือ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกฎหมายและเป็นไปตามข้อตกลงที่มีร่วมกัน มุ่งมั่นแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

และสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 26000 ในกระบวนการทำงานขององค์กร ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งเสริมการแข่งขันทางการตลาดที่เป็นธรรม และไม่ขัดขวางหากมีการแข่งขันในอนาคต

 

          5. ความยั่งยืนและนวัตกรรม

              การไฟฟ้านครหลวง กำหนดให้มีนโยบายและแผนการดำเนินงานที่คำนึงถึงการดำเนินงานอย่างยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามแนวทางสากลของ GRI (Global Reporting Initiative) รวมถึงนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน การให้บริการ และการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

          6. การเปิดเผยข้อมูล

              การไฟฟ้านครหลวง จัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการกำกับดูแลกิจการ โดยดำเนินการตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลรัฐวิสาหกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 และกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้ มีความสม่ำเสมอ และทันกาล ทั้งการรายงานทางเงินและรายงานที่ไม่ใช่การเงิน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านช่องทางที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก เช่น รายงานประจำปี เว็บไซต์ เป็นต้น

 

          7. การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

              การไฟฟ้านครหลวง พัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ การควบคุมภายใน และตรวจสอบภายใน เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์

ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ อย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคณะกรรมการให้มีความรู้ ความเข้าใจ

ในความเสี่ยงที่สำคัญและสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศเพื่อให้พนักงานทุกระดับตระหนักถึงการบริหารความเสี่ยง และนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาเป็น

ส่วนหนึ่งในการตัดสินใจและการปฏิบัติงานประจำวัน โดยมีการกำหนดนโยบาย และโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ดังนี้ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คณะผู้บริหารด้านความเสี่ยง คณะผู้บริหารด้านความเสี่ยงประจำสายงาน มีฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงาน

ด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร และฝ่ายตรวจสอบภายในทำหน้าที่สอบทานและประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงาน และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

 

          8. จริยธรรมและจรรยาบรรณ

              การไฟฟ้านครหลวง ยึดถือพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของการไฟฟ้านครหลวง จึงได้กำหนดจรรยาบรรณของคณะกรรมการ ผู้ว่าการ

ผู้บริหารระดับสูง พนักงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงหลักความซื่อสัตย์สุจริต ความมีจริยธรรมคุณธรรม และศีลธรรมอันดี รวมถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการและผู้บริหารต้องเป็นต้นแบบที่ดี ส่งเสริมบรรยากาศและพฤติกรรมที่ดี สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของพนักงานในทุกระดับ และไม่ยอมให้บุคคลใดกระทำการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) ตลอดจนมีการประเมินจริยธรรมและจรรยาบรรณเป็นประจำทุกปี รวมถึงจัดให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน เมื่อพบเห็นการประพฤติปฏิบัติที่ผิดจรรยาบรรณ

 

          9. การติดตามผลการดำเนินงาน

              คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง กำกับดูแลการดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวงให้บรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงาน โดยติดตามผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดในการประชุมคณะกรรมการเป็นประจำทุกเดือน พิจารณารายงานด้านการเงินและมิใช่การเงินในประเด็นสำคัญ ได้แก่ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง หรือผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ปัญหา/อุปสรรค รวมทั้งแนวทางแก้ไข/ปรับปรุงผลการดำเนินงาน และให้ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน

 

โครงสร้างผู้รับผิดชอบ

         1.  คณะกรรมการ กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งพิจารณากลั่นกรองการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

          2. ผู้บริหาร บริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี

          3. ฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กร รับผิดชอบในการพัฒนากระบวนการ/ระบบบริหารจัดการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานนำเสนอคณะผู้บริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ตามลำดับ อย่างน้อยเป็นรายไตรมาส

 

ระบบการบริหารจัดการ

          1. กำหนดให้มีนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณการไฟฟ้านครหลวง และแผนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีระยะยาวและประจำปี

2. กำหนดโครงสร้างผู้รับผิดชอบ และมีการทบทวน พัฒนากระบวนการ/ระบบบริหารจัดการในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามกรอบนโยบายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

          3. ปฏิบัติตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 และคู่มือการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่

 

ระบบการส่งเสริมการดำเนินงาน

          1. คณะกรรมการ และผู้บริหารทุกระดับ ส่งเสริมการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยสนับสนุนให้พนักงานปฏิบัติตามนโยบาย

          2. สื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับนโยบาย ให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานรับทราบและนำไปปฏิบัติ

          3. จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

ระบบติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน

          1. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะผู้บริหารระดับสูง ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างครบถ้วน สม่ำเสมอ ตามลำดับ อย่างน้อยเป็นรายไตรมาส (ครั้ง ต่อปี) และมีการมอบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          2. คณะกรรมการกำหนดให้มีการรายงานโดยมีรายละเอียดครบถ้วน มีคุณภาพ และระบุสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงหรือแสดงผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขหรือปรับปรุงผลการดำเนินงาน

 

การทบทวนนโยบาย

          1. คณะอนุกรรมการพิจารณาทบทวนนโยบาย และนำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อทราบเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายดังกล่าวยังเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร

 

          2. ในกรณีที่คณะผู้บริหารระดับสูง พบว่านโยบายไม่เหมาะสมกับสภาพการดำเนินงานต้องนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการปรับปรุงนโยบาย และนำเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบ