การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็นองค์กรโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยนําค่านิยมมาเป็นกรอบในการกําหนดวัฒนธรรมองค์กร แปลงให้เป็นพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
เริ่มตั้งแต่คณะกรรมการ กฟน. ผู้นำสูงสุด ผู้นำระดับสูง ประพฤติตนเป็นต้นแบบด้านจริยธรรมคุณธรรมตามที่กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม

การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ปราศจากทุจริต
การสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านขององค์กรเป็นไปอย่างมีจริยธรรมปราศจากการทุจริต โดยมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและมาตรการจัดการที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกกระบวนงานซึ่งส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรทุกกลุ่มโปร่งใสและตรวจสอบได้ ถือเป็นแนวปฏิบัติขององค์กรที่มีส่วนช่วยลดโอกาสและความรุนแรงของการเกิดเหตุทุจริตภายในกระบวนการทำงานขององค์กร ส่งผลให้สามารถลดความสูญเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้
กลยุทธ์การดำเนินงาน
- นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
- นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด
- ยุทธศาสตร์การไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 - 2565
- ระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากล COSO 2013
- การลงนาม MOU ระหว่างผู้นำระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานทั้งหมด เพื่อแสดงเจตนารมณ์และสร้างวัฒนธรรมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร
แนวทางการดำเนินงาน
กระบวนการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ปราศจากทุจริต
มีกระบวนการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ปราศจากทุจริตเพื่อทบทวนอุบัติการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยงประเมินความเสี่ยงด้านจริยธรรม ร้อยละ 100 ของกระบวนการในหน่วยงานที่อาจกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครอบคลุมเรื่องการต่อต้านการทุจริต จากนั้นจึงจัดทำแผนและมาตรการเชิงป้องกัน พร้อมติดตามและสอบทานการประพฤติปฏิบัติ ผ่านระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากล COSO 2013 เป็นประจำ

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็นองค์กรโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยนําค่านิยมมาเป็นกรอบในการกําหนดวัฒนธรรมองค์กร แปลงให้เป็นพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
เริ่มตั้งแต่คณะกรรมการ กฟน. ผู้นำสูงสุด ผู้นำระดับสูง ประพฤติตนเป็นต้นแบบด้านจริยธรรมคุณธรรมตามที่กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
การสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านขององค์กรเป็นไปอย่างมีจริยธรรมปราศจากการทุจริต โดยมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและมาตรการจัดการที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกกระบวนงานซึ่งส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรทุกกลุ่มโปร่งใสและตรวจสอบได้ ถือเป็นแนวปฏิบัติขององค์กรที่มีส่วนช่วยลดโอกาสและความรุนแรงของการเกิดเหตุทุจริตภายในกระบวนการทำงานขององค์กร ส่งผลให้สามารถลดความสูญเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้
กลยุทธ์การดำเนินงาน
- นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
- นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด
- ยุทธศาสตร์การไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 - 2565
- ระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากล COSO 2013
- การลงนาม MOU ระหว่างผู้นำระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานทั้งหมด เพื่อแสดงเจตนารมณ์และสร้างวัฒนธรรมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร
ไฟล์แนบ
ชื่อไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่สร้าง | |||
---|---|---|---|---|---|
การเสริมสร้างค่านิยมองค์กร - โปร่งใส คุณธรรม - ปี 2564.pdf
ขนาดไฟล์: 2.53 MB |
82 | 29 เม.ย. 64 | |||