MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
หน้าหลัก » เกี่ยวกับองค์กร » การกำกับดูแลกิจการที่ดี » การส่งเสริมการดำเนินงาน » ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)

ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)

 
ตามที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่สําคัญใจกลางเมือง เพื่อช่วยเพิ่มสภาพภูมิทัศน์ เสริมสร้างความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และรองรับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น การไฟฟ้านครหลวงจึงยกระดับความโปร่งใส  ด้วยกลไก “ข้อตกลงคุณธรรม”


    • ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)



               เป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการลงนามร่วมกัน 3 ฝ่าย ระหว่างหน่วยงานภาครัฐเจ้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้เข้าร่วมการเสนอราคา และผู้สังเกตการณ์ (Observer) ว่าจะไม่กระทำการใด ๆ ที่ส่อไปในทางทุจริต
    • สาระสําคัญของข้อตกลงคุณธรรม


               1. เป็นกลไกที่เน้นการป้องกัน ( Prevention approach) คอร์รัปชัน ด้วยการสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกลไกที่ออกแบบให้ เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากกว่าขอบเขตของกฏหมาย เพื่อหยุดยั้งหรือตัดตอนความเสียหายที่อาจเกิดจากการคอร์รัปชัน

               2. กําหนดให้หน่วยงานราชการ ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อเอกชนผู้สนใจเข้ามีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างฯ ขณะที่เอกชนผู้ร่วมประมูลงานก็ต้องมีความตั้งใจที่จะทําให้การจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ ดําเนินไปด้วยความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ไม่เสนอและไม่จ่ายสินบนให้กับใคร

               3. เปิดให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตุการณ์  เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยให้มีสิทธิขอดูเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่ม จนจบสิ้นกระบวนการ คือตั้งแต่เขียน TOR จนส่งมอบงาน และแม้ว่าผู้สังเกตุการณ์จะไม่มีอํานาจในการให้คุณให้โทษแต่ต้องสามารถเข้าไปศึกษากระบวนการที่เห็นว่าสําคัญ ตั้งข้อสังเกตุ ทํารายงาน และส่งเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐ เช่น ป.ป.ช.,ป.ป.ง.และสามารถนําข้อมูลใดๆ ออกเปิดเผยต่อสาธารณะได้ เมื่อเห็นสมควร สำหรับองค์กร กฟน. และผู้สังเกตการณ์ ทั้ง 2 ฝ่ายต่างให้ความร่วมมือที่ดี เนื่องจาก กฟน. นั้นได้รับประโยชน์จากการที่มีกลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญมาช่วยสอดส่อง ดูแลความถูกต้องและเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่โครงการที่ดำเนินงาน
    • หลักเกณฑ์ของโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม 


               (ตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต) มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
               1. โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
               2. โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่สาธารณชนสนใจ
               3. โครงการจัดซื้อจัดจ้างลักษณะอื่น ที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. เห็นสมควรให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ


               1. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
               2. ยกระดับความโปร่งใส ให้มีการตรวจสอบ กระบวนการดำเนินงาน และมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูล
               3. สร้างความเชื่อมั่นและก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
               4. ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ และส่งผลต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI)  ของประเทศไทย
 
               การดำเนินการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (ปี 2558 - ปี 2562) การไฟฟ้านครหลวง ได้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้

               ปี 2558 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ “ โครงการการดำเนินการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการนนทรี ” (โครงการนำร่อง)

               ปี 2560 จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
               1. งานก่อสร้างโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการพระราม 3 ช่วงสถานีต้นทางถนนตก - สะพานพระราม 9
               2. งานก่อสร้างโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ในถนนจรัญสนิทวงศ์ (ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
               3. งานก่อสร้างโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการรัชดาภิเษก พระราม 9

 
    • หลักการของการเข้าร่วมโครงการข้อตกลงคุณธรรม ปี 2562



               การนำเสนอเข้าร่วมโครงการสำหรับปี 2562 นั้น เป็นการยึดถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตาม มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป

               ปี 2562 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ “ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ”
    • ความก้าวหน้าการดำเนินงาน

         ปี 2561