การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟน.
กฟน. ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสากล (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียม ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน ในรอบปี 2562-2563
กฟน. ประกาศนโยบายความยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมสามมิติสำคัญได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนเป็นกรอบแนวทางหลักในการถ่ายระดับสู่นโยบายด้านอื่น ๆ อาทิ นโยบายสังคมและสิ่งแวดล้อม นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการไฟฟ้านครหลวง นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ โดยในปี 2563 ได้มีการทบทวนนโยบายความยั่งยืน โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อมองค์กร และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานผ่านแผนแม่บทและแผนปฏิบัติเสริมสร้างความยั่งยืน การไฟฟ้านครหลวงปี 2563-2565 ซึ่งกำกับดูแลผ่านคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ กฟน. (ภายใต้โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการไฟฟ้านครหลวง)
นโยบายด้านความยั่งยืน
ทิศทางการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน ของการไฟฟ้านครหลวง
- วิสัยทัศน์
- ภารกิจ
- ค่านิยม
H – ทำงานสอดประสาน (Harmonization)
N – สรรสร้างสิ่งใหม่ (New Ideas)
E – ล้ำเลิศประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ความสามารถพิเศษของ กฟน.
บริหารจัดการ และบริการระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความยั่งยืนในระยะยาว การไฟฟ้านครหลวงจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถพิเศษขององค์กรในอนาคต (Future Core Competency) คือ
- ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ด้านงานบริการ, ด้านระบบจำหน่าย, ด้านบริหารจัดการระบบไฟฟ้า, ด้าน Trading)
- ความสามารถด้านการตลาดเพื่อการแข่งขัน
- ความสามารถด้านการบริหารจัดการพลังงาน