
โครงการEnergy Mind Award
“การจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน”
************************
************************
ที่มาของโครงการ
โครงการ Energy Mind Award เป็นโครงการที่การไฟฟ้านครหลวงให้ความสำคัญในการลดภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่บุคลากรและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ กับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และสามารถบูรณาการเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละสถานศึกษา เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในการเป็นสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน โดยมุ่งเน้นในการสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนในสถานศึกษา และค้นพบว่ายิ่งเราสามารถเริ่มต้นการปลูกฝังแก่เยาวชนได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งเห็นผลชัดเจนมากเท่านั้น โครงการฯจึงได้ขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งหมด พร้อมแนวทางการวิเคราะห์เชิงปริมาณในการใช้พลังงานงานของโรงเรียนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายที่จะกำหนดค่าเฉลี่ยของการใช้พลังงานของเยาวชนไทยในการเลื่อนระดับชั้นเรียนต่อคนต่อปี เปรียบเทียบระหว่างสถานศึกษาและเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยของประชาคมอาเซียนและกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อส่งเสริมและสร้างมาตรฐานคาร์บอนฟุตปริ้นท์ (Carbon Footprint) ในระบบการศึกษาของประเทศไทย
ในปี๒๕๕๐การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียนให้กับครูและนักเรียนแกนนำของโรงเรียนในเขตให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครูนักเรียนและบุคลากรอื่นๆให้สามารถร่วมกันจัดทำโครงการฯ เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
ในปี ๒๕๕๑การไฟฟ้านครหลวง ได้ขยายกรอบงานของโครงการฯในปี ๒๕๕๐ สู่การจัดทำมาตรฐานโรงเรียนอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้ชื่อการดำเนินกิจกรรมว่า “การจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน”(Outstanding Energy Learning Center)ภายใต้โครงการคืนโลกสดใส ลดใช้พลังงาน (Energy Mind Award) โดยการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯสามารถดำเนินงานด้านการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ผ่านการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนรวมทั้งยังมีการประเมินการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของโรงเรียนในทุกด้าน เพื่อจัดระดับมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน และมอบรางวัล Energy Mind Award ระดับ ๑ – ๕ ดาว ให้แก่โรงเรียนตามความสามารถของโรงเรียนในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๐) โครงการ Energy Mind Award มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการฯรวมทั้งสิ้น ๒๓๐ โรงเรียน ทั้งที่เป็นโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร รวมถึงสถานศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน โดยมีสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับ ๕ ดาว จำนวน ๔๗ โรงเรียนมีบุคคลากรทางการศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมจากสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ( Energy Master Award )จำนวน ๕๖ คน
ปัจจุบัน (๒๕๖๒) โครงการได้ยกระดับจากโครงการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพฤติกรรม เป็นโครงการที่เสริมสร้างให้เกิดนวัตกรรมควบคู่กับพฤติกรรม ภายใต้ชื่อโครงการ “นวัตกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ENnovation School”
โครงการ Energy Mind Award เป็นโครงการที่การไฟฟ้านครหลวงให้ความสำคัญในการลดภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่บุคลากรและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ กับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และสามารถบูรณาการเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละสถานศึกษา เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในการเป็นสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน โดยมุ่งเน้นในการสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนในสถานศึกษา และค้นพบว่ายิ่งเราสามารถเริ่มต้นการปลูกฝังแก่เยาวชนได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งเห็นผลชัดเจนมากเท่านั้น โครงการฯจึงได้ขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งหมด พร้อมแนวทางการวิเคราะห์เชิงปริมาณในการใช้พลังงานงานของโรงเรียนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายที่จะกำหนดค่าเฉลี่ยของการใช้พลังงานของเยาวชนไทยในการเลื่อนระดับชั้นเรียนต่อคนต่อปี เปรียบเทียบระหว่างสถานศึกษาและเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยของประชาคมอาเซียนและกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อส่งเสริมและสร้างมาตรฐานคาร์บอนฟุตปริ้นท์ (Carbon Footprint) ในระบบการศึกษาของประเทศไทย
ในปี๒๕๕๐การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียนให้กับครูและนักเรียนแกนนำของโรงเรียนในเขตให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครูนักเรียนและบุคลากรอื่นๆให้สามารถร่วมกันจัดทำโครงการฯ เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
ในปี ๒๕๕๑การไฟฟ้านครหลวง ได้ขยายกรอบงานของโครงการฯในปี ๒๕๕๐ สู่การจัดทำมาตรฐานโรงเรียนอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้ชื่อการดำเนินกิจกรรมว่า “การจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน”(Outstanding Energy Learning Center)ภายใต้โครงการคืนโลกสดใส ลดใช้พลังงาน (Energy Mind Award) โดยการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯสามารถดำเนินงานด้านการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ผ่านการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนรวมทั้งยังมีการประเมินการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของโรงเรียนในทุกด้าน เพื่อจัดระดับมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน และมอบรางวัล Energy Mind Award ระดับ ๑ – ๕ ดาว ให้แก่โรงเรียนตามความสามารถของโรงเรียนในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๐) โครงการ Energy Mind Award มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการฯรวมทั้งสิ้น ๒๓๐ โรงเรียน ทั้งที่เป็นโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร รวมถึงสถานศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน โดยมีสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับ ๕ ดาว จำนวน ๔๗ โรงเรียนมีบุคคลากรทางการศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมจากสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ( Energy Master Award )จำนวน ๕๖ คน
ปัจจุบัน (๒๕๖๒) โครงการได้ยกระดับจากโครงการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพฤติกรรม เป็นโครงการที่เสริมสร้างให้เกิดนวัตกรรมควบคู่กับพฤติกรรม ภายใต้ชื่อโครงการ “นวัตกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ENnovation School”
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน
๒. เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจแก่สถานศึกษาและบุคคลทั่วไป ให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินกิจกรรมของการไฟฟ้านครหลวงในเชิงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
๓. เพื่อสร้างและพัฒนามาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในโรงเรียน
๔. เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ แก่ครู นักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้เกิดพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและขยายผลออกสู่ชุมชนโดยรอบ
๕. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่สถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่จำหน่ายของ กฟน. และดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของตนเอง ให้ก้าวไปสู่การเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
มุมมองของโครงการ
การจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน มีแนวคิดในการเสริมสร้างจิตสำนึก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชน ด้วยความเชื่อมั่นว่า การปลูกฝังแนวคิดเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักอนุรักษ์พลังงานที่แท้จริง จะสามารถสร้างรากฐานที่มั่นคงแก่สังคมไทยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
การดำเนินโครงการฯแตกต่างจากโครงการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐ และเอกชนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นไปที่เงินทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ ด้วยแนวคิดว่า การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นการแก้ปัญหาปลายทาง ซึ่งแม้สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานได้ทันทีเป็นจำนวนมาก แต่หากผู้ใช้ไม่รู้จักการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเกิดจุดรั่วไหลของการใช้พลังงานอย่างมากมาย และเมื่อเวลาผ่านไปพร้อมๆกับการเสื่อมประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ก็จะกลายเป็นวงจรที่จะต้องกลับมาเริ่มต้นเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการสร้างอุปนิสัยในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ที่เมื่อผู้ใช้มีพฤติกรรมที่เคยชินกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะติดตัวผู้ใช้ไปตลอด และเกิดความยั่งยืนในการอนุรักษ์พลังงานอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เมื่อมีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็จะเกิดการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์
แนวคิด
แนวคิดในการจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน มีดังนี้
มุมมองของโครงการ
การจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน มีแนวคิดในการเสริมสร้างจิตสำนึก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชน ด้วยความเชื่อมั่นว่า การปลูกฝังแนวคิดเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักอนุรักษ์พลังงานที่แท้จริง จะสามารถสร้างรากฐานที่มั่นคงแก่สังคมไทยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
การดำเนินโครงการฯแตกต่างจากโครงการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐ และเอกชนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นไปที่เงินทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ ด้วยแนวคิดว่า การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นการแก้ปัญหาปลายทาง ซึ่งแม้สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานได้ทันทีเป็นจำนวนมาก แต่หากผู้ใช้ไม่รู้จักการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเกิดจุดรั่วไหลของการใช้พลังงานอย่างมากมาย และเมื่อเวลาผ่านไปพร้อมๆกับการเสื่อมประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ก็จะกลายเป็นวงจรที่จะต้องกลับมาเริ่มต้นเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการสร้างอุปนิสัยในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ที่เมื่อผู้ใช้มีพฤติกรรมที่เคยชินกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะติดตัวผู้ใช้ไปตลอด และเกิดความยั่งยืนในการอนุรักษ์พลังงานอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เมื่อมีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็จะเกิดการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์
แนวคิด
แนวคิดในการจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน มีดังนี้
๑. เป็นโครงการที่มีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีทิศทางที่สอดคล้องกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายหลักคือ ทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียน หรือบูรณาการงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเข้ากับงานการเรียนการสอนของโรงเรียน
๒. โรงเรียนเข้าร่วมการจัดมาตรฐานฯด้วยความเต็มใจ
๓. การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของโรงเรียน จะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน
๔. สอดคล้องกับนโยบายทางด้านการศึกษาของรัฐบาล ที่เน้นการบูรณาการการดำเนินงานของโรงเรียน ทั้งในแง่ของการเรียนการสอน กระบวนการ และการบริหารจัดการของโรงเรียน
๕. สอดคล้องกับภารกิจของโรงเรียน ในการจัดการเรียนการสอนที่ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
๖. สอดคล้องตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน น้ำ การจัดการขยะของโรงเรียน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละปี
กิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละปี
- เชิญผู้บริหารสถานศึกษา และตัวแทนสถานศึกษา เข้ารับฟังการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
- คัดเลือกสถานศึกษาที่มีสภาพแวดล้อม พื้นที่ จำนวนนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ
- สถานศึกษาที่ได้รับเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงานในระดับต่ำกว่า ๕ ดาว เข้าร่วมโครงการฯ ต่อเนื่อง
- จัดค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากรทางการศึกษา ครู และนักเรียน
- จัดกิจกรรม Road Showออกบูธให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมไปตามสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อกระตุ้น และสร้างความมีส่วนร่วมในโครงการฯ ให้กับนักเรียนภายในโรงเรียน
- จัดการศึกษาดูงานองค์กร หน่วยงาน ที่ประสบความสำเร็จด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- การจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน
- การจัดทำแบบประเมินมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงาน
- การตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยคณะผู้ตรวจสอบเดินทางไปตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ
เป้าหมาย
โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
เป้าหมาย
โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ภายใต้โครงการกฟน.รักษ์สิ่งแวดล้อม
ปี ๒๕๕๑–๒๕๕๔ ภายใต้โครงการคืนโลกสดใส ลดใช้พลังงาน
ปี ๒๕๕๕–ปัจจุบัน ภายใต้โครงการ Energy Mind Award
รางวัลที่ได้รับ
รางวัลที่ได้รับ
ปี ๒๕๕๑ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (ผลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น) จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง
ปี ๒๕๕๕ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (ผลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น) จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง
ปี ๒๕๕๖ใบประกาศเกียรติคุณ โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ พ.ศ.๒๕๕๖ จากวุฒิสภาฯ